Upcycling the Oceans, Thailand Featured

  • Tuesday, 05 September 2017 21:15
  • Published in PR/News
  • Read 6486 times

 LE 5728 01 horz

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 ณ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายธีรวัฒน์ สุดสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และนายฮาเวียร์ โกเยนิเช่ ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ราชอาณาจักรสเปน ร่วมพิธีเปิด

 LE 5745 01 horz

พร้อมด้วยนักแสดงชื่อดัง อเล็กซานเดอร์ เรนเดลล์ และ นิษฐา จิรยั่งยืน เข้าร่วมในกิจกรรมโครงการUpcycling the Oceans, Thailand ซึ่งจัดขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย พร้อมเปิดตัวกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะในทะเล และเก็บขยะบริเวณชายหาด พร้อมมอบถังขยะและถุงขยะให้กับอุทยานฯ และจังหวัดระยอง เพื่อส่งเสริมการทิ้งขยะ และการแยกขยะพลาสติก ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่า

 LE 5751 01 horz

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยาการและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ปัญหาขยะในทะเลนับเป็นปัญหาสำคัญของไทย และทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งทะเลและมหาสมุทรเป็นแหล่งรองรับของเสียจำนวนมาก ที่มาจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว การประมง การเดินเรือ เป็นต้น ทำให้เกินมลพิษทางทะเล และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในทะเล กระทรวงฯ จึงดำเนินมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณขยะในทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่เกาะที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และมีหลายกิจกรรมที่คุกคามต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การทิ้งขยะปฏิกูลลงทะเล การให้อาหารปลา การทิ้งสมอเรื่อบริเวณแนวปะการัง ทำให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง ซึ่งกระทรวงฯจะเข้าไปบริหารจัดการ เพื่อควบคุมดูแลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้งานให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สำหรับโครงการ Upcycling the Oceans, Thailandนับเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนภาครัฐจัดการปัญหาขยะ ซึ่งเป็นปัญหาที่ถูกระบุให้เป็น 1 ในยุทธศาสตร์ 10 ด้าน ในเรื่องของทรัพยาการสิ่งแวดล้อมของแผนยุทะศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และเป็นปัญหาระดับสากลที่ต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไข โดยการเก็บขยะจากแหล่งท่องเที่ยวทางชายทะเล ชายฝั่งและหมู่เกาะของประเทศไทยมาแปรรูปโดยการเพิ่มมูลค่า ซึ่งโครงการคาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกในท้องทะเลไทยไม่น้อยกว่า 10 ตันในปี 2560

IMG 3258 01 horz

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล รวมถึงปัญหาขยะในทะเล ส่งผลต่อระบบนิเวศในทะเล และภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย ซึ่งหากไม่ดำเนินการจัดการปัญหาขยะอย่างเป็นระบบและทันท่วงที อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวโดยรวมของไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆได้ ดังนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงร่วมกับ พีทีทีจีซี และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ดำเนินโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เพื่อการจัดการขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ท้องทะเลไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) อาทิ การทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง การเก็บขยะชายหาดและขยะในทะเล เป็นต้น โดยพื้นที่นำร่องของโครงการ คือ ฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ฝั่งทะเลอ่าวไทย ได้แก่ เกาะเต่า และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆในการร่วมจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล รวมถึงพื้นที่ชายฝั่ง และหมู่เกาะที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจและสร่างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องจะช่วยปกป้องรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลไทยให้อุดมสมบูรณ์สวยงาม”

 LE 5624 01 horz

นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “พีทีทีจีซี มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน ดดยได้ประยุกต์หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุกลายเป็นขยะ จะถูกนำไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป โดยแนวทางนี้จะส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของทั่วโลก ซึ่งโครงการ Upcycling the Oceans, Thailandเป็นโครงการที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และแก้ปัญหาขยะในทะเล เพื่อระบบนิเวศที่ดีขึ้น โดยการเก็บขยะพลาสติกในทะเล ได้แก่ ขยะขวดพลาสติกใสหรือขวด PET และขยะจากพลาสติกโพลิเอทิลีน (PE) เช่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกทึบ มาแปรรูปด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเป็นเสื้อผ้า และสินค้าแฟชั่นที่มีมูลค่าสูงขึ้น การดำเนินโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand จึงช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล และสร้างคุณค่าของขยะให้เกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ข้อที่ 14 Life Below Water ที่ให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ และฟื้นฟุระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และการป้องกันและการลดมลพิษทางทะเล”

 LE 5698 01 horz

นายฮาเวียร์ โกเยนิเช่ ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิอีโคอัลฟ์ ราชอาณาจักรสเปน กล่าวว่า “มูลนิธิอีโคอัลฟ์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบของขยะในทะเลอย่างจริงจัง และได้จัดทำโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand ซึ่งนับเป็นประเทศแรกในเอเชีย โดยร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ดำเนินการจัดเก็บขยะในทะเลไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งการจัดเก็บ การแปรรูป และพัฒนาเป็นเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น ซึ่งโครงการได้มีการติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องต่างๆในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น ผู้ประกอบการแยกแยะขยะโรงงานแปรรูป เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถเก็บรวมรวมขยะพลาสติกที่เกาะเสม็ดตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 และจะนำไปแปรร฿ปเป็นวัตถดิบทั้งเส้นใย และเม็ดพลาสติกในช่วงต้นปีหน้า”

IMG 3114 01 horz

ทั้งนี้โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2560 – 2562) โดยในช่วงปีแรกจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ พร้อมทั้งการติดต่อประสานงานพันธมิตรสำหรับหารจัดการขยะ ทั้งการเก็บขยะ แยกขยะ และแปรรูปขยะปีที่ 2 จะมุ่งเน้นการแปรรูปขยะด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิต และปีที่ 3 จะพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นที่แปรรูปจากขยะในทะเล

 

 

 

Rate this item
(1 Vote)

Leave a comment

Make sure you enter the (*) required information where indicated. HTML code is not allowed.