“เที่ยววิถีชุมชนคน Green” Featured

  • Monday, 20 March 2017 23:38
  • Published in PR/News
  • Read 9198 times

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสมุทรสงคราม

ชวนนักท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด 7 Greens Concept

กับโครงการ “เที่ยววิถีชุมชนคน Green”

ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดสมุทรสาคร

 

เมื่อวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2560 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) งานประสานสำนักงานภาคกลาง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสมุทรสงคราม จัด Media FAM Trip นำสื่อมวลชนเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวและทดสอบสินค้าทางการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร ตามโครงการ “เที่ยววิถีชุมชนคนGreen” ตอน ตามรอยเท้าพ่อ ก้าว ร.๙ เส้นทางเศรษฐกิจพอเพียงและสอดคลองกับแนวคิด 7 Green Concept

จังหวัดสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นในทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงอนุรักษ์ แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน วิถีชีวิต องค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านที่น่าสนใจ รวมทั้งมีกิจกรรมตามแนวคิด “7 Green concepts ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” 

โดย “7 Green concepts” เป็นแนวคิดที่ต้องการให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวพร้อมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วย

Green Heart : “ท่องเที่ยวด้วยใจคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จุดเริ่มต้นของการใส่ใจสิ่งแวดล้อม คือ เริ่มต้นที่ใจเราเอง การรับข้อมูลเพื่อปรับทัศนคติว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกๆ คน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง จากนั้นสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองว่า “เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดภาระโลกร้อนได้”

Green Logistic : “ท่องเที่ยวใกล้ไกลใช้พลังงานให้คุ้มค่า” วิธีเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ที่เน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การโดยสารรถไฟ การขับรถที่ประหยัดพลังงาน การเลือกบริโภคของในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนและมลภาวะจากการขนส่ง เป็นต้น

Green Attraction : “ท่องเที่ยวทั่วทิศ เลือกแหล่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ควรให้ความสำคัญกับการเลือกท่องเที่ยวในแหล่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทำความเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและปกป้องสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนสืบไป

Green Activity : “สนุกกับกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม” การเลือกกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น การขี่จักรยานซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ การไม่ให้อาหารปลาในทะเล เพราะทำให้เกิดความไม่สมดุลตามธรรมชาติของระบบนิเวศ การไม่เก็บเปลือกหอยตามชายหาด เพราะเปลือกหอยจะกลายเป็นทรายสวยๆ บนชายหาดต่อไป การไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนในชุมชน ไม่รบกวนพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

Green Community: “ท่องเที่ยวอย่างรู้คิด รักษาวิถีชีวิตชุมชน” เราทุกคนสามารถเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนให้คงอยู่ต่อไป

Green Service : “เลือกใช้บริการธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เลือกใช้สถานบริการท่องเที่ยวที่มีสำนึกและใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร เพื่อสนับสนุนกิจการให้เติบโต และกลายเป็นตัวอย่างที่ทำให้สถานบริการอื่นๆ หันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Green Plus : “จิตอาสา พาโลกสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ระลึกเสมอว่าทุกๆ คนสามารถมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อเรื่องราวและเผยแพร่แนวคิดการท่องเที่ยวแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม การลงมือทำในฐานะจิตอาสา หรือกระทั่งการบริจาคทุนทรัพย์ตามกำลัง เพื่อช่วยพัฒนาโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ซึ่งโครงการ “เที่ยววิถีชุมชนคน Green” มุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ นายยุธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ผทท.) ที่เน้นเรื่องของท้องถิ่น การเพิ่มขึ้นด้านคุณภาพ การมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น ความสมดุลที่เกิดขึ้นในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งมุ่งเน้นกิจกรรมสิ่งแวดล้อม (CSR) กิจกรรมท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้เห็นว่า ททท. มีความรับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

ซึ่งที่ผ่านมา ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม ได้ร่วมกับสถานบันการศึกษาต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โรงเรียนบ้านดินแดง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) จังหวัดเพชรบุรี

นำนักเรียน/นักศึกษา เข้าเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่และทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิด 7 Greens Concept เช่น รับประทานอาหารท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านบางพลับ เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารการกินและสนับสนุนการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่งมาจากแดนไกล (Green Logistic) ซึ่งครัวของชุมชนบ้านบางพลับนั้นมาจากบ้านพี่แดงหรือบ้านกลุ่มแม่บ้านที่ทำผลไม้กลับชาติ โดยมีอาหารขึ้นชื่อใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น อาทิ แกงกระดองกรุบ น้ำพริกกะปิรับประทานคู่กับผักพื้นบ้านลวกรวมถึงใบชะครามลวกราดด้วยกะทิและปลาทูทอด อาหารท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงคราม

นอกจากนี้ยังมีส้มโอขาวใหญ่จากสวนของอาจารย์สมทรงเป็นผลไม้หลังมื้ออาหารอีกด้วย ชุมชนบ้านบางพลับ เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ผสานผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวพร้อมรักษาอัตลักษณ์ชุมชนได้อย่างสมดุล จากฐานการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกิดจากการสืบทอดองค์ความรู้และความชำนาญของแต่ละบ้าน สร้างโอกาสในการเรียนรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตามวิถีชีวิตชุมชน (Green Community) อาทิ การทำผลไม้กลับชาติหรือการแปรรูปผลไม้จากขมเป็นหวาน เช่น บอระเพ็ด มะระ มะนาว การเผาถ่านผลไม้ โดยนำผลไม้ในชุมชนที่ไม่ได้ขนาดหรือมีตำหนิมาเผาเป็นถ่านผลไม้ที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

พร้อมกิจกรรมปั่นจักรยานเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนไปชมฐานเรียนรู้ตามจุดต่างๆ ภายในชุมชน (Green Activity) นอกจากนี้ยังสามารถพักแบบโฮมสเตย์กับเจ้าบ้านท้องถิ่น ช่วยลดการใช้พลังงานที่ทำให้โลกร้อนได้มากกว่าการพักในโรงแรมขนาดใหญ่ (Green Service) ณ บ้านบางพลับมีที่พักแบบโฮมสเตย์บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจพักค้างคืนเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนส้มโอ และการปาดน้ำตาลจากต้นมะพร้าวเพื่อนำไปเคี่ยวน้ำตาลในช่วงเช้าอีกด้วย

อีกแห่งหนึ่งคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนให้ยังคงอยู่ต่อไปเพื่อความยั่งยืน (Green Community)อาทิ เรียนรู้การทำขนมไทย โดยเฉพาะขนมต้ม ซึ่งเป็นขนมที่มีส่วนประกอบมาจากมะพร้าวเป็นหลัก สอดคล้องกับตัวแหล่งท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดสมุทรสงครามที่ผูกพันกับมะพร้าว

พร้อมเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความผูกพันของชีวิตกับมะพร้าวตั้งแต่เกิดจนตายจากปราชญ์ชาวบ้านผู้เชื่ยวชาญด้านมะพร้าว ณ พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตมะพร้าวไทย ทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทดลองทำหัตถกรรมท้องถิ่น เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิม (Green Activity) อาทิ กิจกรรมการสานทางมะพร้าวเป็นหมวก กระเช้า ปลาตะเพียนและอื่นๆ โดยใช้ทางมะพร้าว (ใบมะพร้าว) วัตถุดิบที่มีมากมายในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยังก่อให้เกิดรายได้เข้าชุมชนอีกด้วย

 

 

Rate this item
(0 votes)

Leave a comment

Make sure you enter the (*) required information where indicated. HTML code is not allowed.